fbpx

พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย

พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย

แชร์บทความน่าสนใจได้ที่นี่

จากการสำรวจของ ETDA Thailand พบว่าพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในปี 2561 ที่ผ่านมา จากกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย  ซึ่งพบว่ามีการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่น่าสนใจสำหรับเหล่านักการตลาดที่ต้องการเข้าใจพฤติกรรมของชาวโซเชียลให้มากยิ่งขึ้น

สื่อ Social Media ที่ได้ความนิยม

สำหรับสื่อโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด พบว่า YouTube, LINE และ Facebook ยังคงเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมครองใจผู้ใช้คนไทยในยุคสมัยนี้ และมีผู้ใช้งานจำนวนมากเป็น 3 อันดับแรก  โดยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้

– YouTube ได้รับความนิยม ร้อยละ 98.8

– LINE ได้รับความนิยม ร้อยละ 98.6

– Facebook ได้รับความนิยม ร้อยละ 96.0

– Facebook Messenger ได้รับความนิยม ร้อยละ 88.4

– Instagram ได้รับความนิยม ร้อยละ 67.2

– Pantip เป็นชุมชนออนไลน์หนึ่งเดียวของไทย ได้รับความนิยม ร้อยละ 64.2

– Twitter ได้รับความนิยม ร้อยละ 43.0

– WhatsApp ได้รับความนิยม ร้อยละ 10.6

จำนวนการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวัน

ในปี 2561 มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 3 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน  และผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตในช่วงวันทํางาน หรือวันเรียนหนังสือประมาณ 3 ชั่วโมง 18 นาทีต่อวัน และใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงวันหยุดประมาณ 4 ชั่วโมง 6 นาทีต่อวัน

ภาพรวมของกิจกรรมที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่ใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 1 ของโลก ใช้เวลาในการเข้าถึงมากที่สุด อันดับแรก คือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์  รองลงมา คือ การดูโทรทัศน์ ดูคลิปวิดีโอ ดูภาพยนตร์ และฟังเพลงออนไลน์ เป็นต้น

กิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต

ผลสํารวจพบว่า 5 อันดับยอดนิยมของกิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ในปีนี้เหมือนกันกับปีที่ผ่านมา  นั่นคือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรับ-ส่ง อีเมล การค้นหาข้อมูล การดูโทรทัศน์, ดูคลิปวิดีโอ, ฟังเพลง และการซื้อสินค้า บริการ ทางสื่อออนไลน์

ความแตกต่างของแต่ละ Generations

แต่ละช่วงวัยก็มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันออกไปทั้งเวลาที่ใช้งานในกิจกรรมต่างๆ และปัญหาที่พบเจอในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็แตกต่างกันออกไปด้วย แต่ละเจเนอเรชั่นจะมีความแตกต่าง ดังนี้

  • Baby Boomer

Baby Boomer (คนที่เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2489-2507) ยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นก่อนที่เทคโนโลยีจะเฟื่องฟู คนยุคเบบี้บูมเมอร์ คือ คนที่มีอายุตั้งแต่ 49 ปีขึ้นไป

  • Gen X

Gen X หรือ Generation X (คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2508-2522) ช่วงเจเนอเรชั่นที่กำลังเริ่มปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยี เป็นช่วงวัยทำงาน โตมากับการพัฒนาวิดีโอเกม, คอมพิวเตอร์, เพลงฮิปฮอป และอาจทันโทรทัศน์จอขาวดำด้วย คนยุค Gen X จะมีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป

  • Gen Y

Gen Y หรือ Generation Y (คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540) เป็นยุคที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเรื่องราวเกี่ยวกับไอที ที่กำลังเจริญ คนกลุ่มนี้มักจะชอบงานที่เกี่ยวกับไอที คนยุค Gen Y จะมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

  • Gen Z

Gen Z หรือ Generation Z (คนที่เกิดในช่วงหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป) คนยุคนี้จะมีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่นๆ เติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ

จากผลสำรวจ คือ  Gen Y กลับมีสัดส่วนของการใช้ Social Media ที่มากกว่า Gen Z ซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นล่าสุดของปัจจุบัน

 

จำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เพิ่มขึ้น

ในปี 2554 มีจํานวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียง 77.5 ล้านเลขหมาย แต่ในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 124.8 ล้านเลขหมาย หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 60

เมื่อนําเอาจํานวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปี 2561 มาเทียบ กับจํานวนประชากร ปี 2561 ซึ่งมีจํานวนทั้งสิ้นประมาณ 66,294,064 คน  เพื่อดูอัตราส่วนจํานวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรรวม (Mobile Penetration Rate)  ก็พบว่าอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 188.25 ซึ่งหมายความว่าประชากร 1 คน จะครอบครองเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 1 เลขหมาย ซึ่งหมายความว่าการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละช่วงวัยก็จะแตกต่างกันไป

ดังนั้น การทำแคมเปญทางการตลาดให้เข้าถึงแต่ละกลุ่มก็ควรจะแตกต่างกันด้วย เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

 

เกาะติดข่าวสารการตลาดออนไลน์ เทคนิคการโปรโมทโฆษณา
แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@inDigital ที่นี่

เพิ่มเพื่อน

 

 

Fanpage : INdigital การตลาดออนไลน์
เว็บไซต์ : www.indigital.co.th

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *